เบิกตาเปิดใจกันได้แล้ว! "ร้อยตำรวจโท"โพสต์แจงชัดดราม่าตร. ดูแล"เปรี้ยว"ประดุจฮีโร่ วอนอย่าตัดสินแค่เปลือก ความจริงอยู่ตรงนี้!(อ่านรายละเอียด)

 วันที่ 4 มิ.ย. 2560 ภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวผู้ต้องหาคดีฆ่าหั่นศพทั้ง 3 มาถึงยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ในเวลา 15.00 น....

 วันที่ 4 มิ.ย. 2560 ภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวผู้ต้องหาคดีฆ่าหั่นศพทั้ง 3 มาถึงยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ในเวลา 15.00 น. โดย พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ลงสอบสวนด้วยตัวเอง ซึ่งภายหลังการสอบสวนได้มีการตั้งโต๊ะแถลงคำให้การณ์ของผู้ต้องหา
โดย พล.ต.อ.จักรทิพย์ เปิดเผยว่า จากการสอบสวน ทั้ง 3 คนรับสารภาพตลอดทั้งข้อกล่าวหา นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยอีกว่า ผู้ต้องหายังมีความคิดว่าในการอำพรางศพนั้น มีตัวเลือกอยู่2อย่างในใจ คือ ถ่วงน้ำ แต่ก็เกรงว่าศพจะโผล่ขึ้นมาจึงเลือกที่จะหั่นศพ
และยังเปิดเผยอีกว่าผู้ต้องหานั้นตั้งใจจะมอบตัวอยู่แล้ว เขาหาวิธีมอบตัวอยู่ เนื่องจากไม่อยากให้คนที่พวกตนหลบหนีไปอาศัยอยู่ด้วยต้องเดือดร้อน
และยังกล่าวอีกด้วยว่าอย่างน้อยเขาก็ยังมีสามัญสำนึกจะรับผิดชอบในสิ่งที่เขาก่อ และเชื่อว่าผู้ต้องหาไม่คิดจะหลบหนี และจะอยู่ในสายตาของตำรวจตลอดเวลา



ส่วนสาเหตุของการฆาตกรรมนั้นเกิดจากความแค้นส่วนตัว

โดยหลังจากนั้นก็ได้มีการแชร์ภาพของผู้ต้องหาในท่าทางที่สบายใจ และสังคมได้โจมตีทั้งผู้ต้องหาและตำรวจเป็นอย่างมากนั้น

ล่าสุดผู้ใช้เฟซบุ๊ก "Panja Pholto" ซึ่งได้ออกมาอธิบายเหตุผลต่างๆของการกระทำแบบนี้ของตำรวจเอาไว้อย่างมีเหตุผลว่า

ถ้าได้มาทำงานกับตำรวจจริงๆ จะรู้ว่า การรักษาบรรยากาศในคดีฆาตกรรม เพื่อให้ผู้ต้องหาผ่อนคลายนี่มันเป็นเรื่องสำคัญมากเลยนะครับ
จากประสบการณ์การทำงานที่ผมทำคดีฆาตกรรมมาประมาณ 3 คดี ในช่วงการรับราชการ 2 ปี
การที่เราไปแสดงความรังเกียจ เดียดฉัน สร้างความกดดันมากๆ กับผู้ต้องหาซึ่งยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเต็มตัว จนทำให้ผู้ต้องหามีความเครียดนี่ไม่เป็นผลดีในทางคดีเลย สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ ผู้ต้องหาไม่ให้ความร่วมมือครับ และก็อาจจะไม่ไห้ข้อมูลอะไรเลย

มันไม่ได้เหมือนในหนังที่ เอาโคมไฟส่องหน้า น้ำสาด ตะคอก ตอกมือ เค้นความจริง นะครับ

 เรื่องจริง คือ เราพยายามทำทุกอย่างให้มันดูปกติมากที่สุด ให้เขาเป็นตัวเขาแบบปกติมากที่สุด ต้องเข้าใจนะครับว่าตำรวจเนี่ยไม่ใช่คนในครอบครัว หรือคนรู้จักกับผู้ต้องหามาก่อน และต้องมาสร้างความไว้วางใจกัน นี่มันยากนะครับ จะยิ้มแย้มแฮปปี้เกินไป อันนี้ก็ไม่ดีครับดู Fake เกิน บรรยากาศเป็นกันเองสบายๆ ก็กำลังดี แต่ถ้าแบบตึงเครียดนี่ไม่ต้องพูดถึงครับ เอาไปไกลๆ เลย
ก่อนเข้าสอบปากคำผู้ต้องหาในคดีสะเทือนขวัญ อย่างคดีฆ่า นี่ผมต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องน้ำเสียง กับสีหน้า ในระดับหนึ่งเลย แม้แต่การเลือกใช้คำพูด ยังต้องวิเคราะห์เลยครับว่าดูสุ่มเสี่ยงจะทำให้เกิดความเครียดกับผู้ต้องหา หรือเปล่า อันนี้ผมพูดถึงผู้ต้องหาที่เป็นผู้ชายนะครับ ส่วนคดีที่ผู้ต้องหาที่เป็นผู้หญิงนี่ยิ่งแล้วกันใหญ่เลยครับ
เรื่องให้ผู้ต้องหาสูบบุหรี่นี่อยู่ในตำราวิชาตำรวจทั่วไปครับ หลายๆ ประเทศก็มี ถ้าผ่านการอบรมตำรวจมา ประโยคนี้น่าจะผ่านหูครับ

" ใจเย็นๆ ไว้นะครับ ไม่มีอะไรต้องเป็นห่วง สูบบุหรี่หน่อยไหม "

( ยิ่งถ้าจะให้ดี หากผู้ต้องหาสูบบุหรี่ตามคำชวนแล้ว เจ้าหน้าที่ควรจะสูบเป็นเพื่อนด้วย )

พอเขาเริ่มใจเย็น ความเครียดลดลง ความไว้วางใจเกิดขึ้นกับเรา สิ่งที่ตามมาคือ อะไรรู้ไหมครับ

" เรื่องจริง มันเริ่มมาจากเหตุการณ์แบบนี้ครับพี่ "
" มีดที่ฟัน ที่หาไม่เจอเพราะ ผมโยนไว้ที่นั่นครับ ที่มันไม่มีเลือด เพราะผมเอาจุ่มน้ำตรงนั้นครับ "
" หมวดครับ จริงๆ แล้ว เรื่องนี่ มีคนนี้ คนนั้น รู้เรื่องด้วย "




ต้องแยกแยะนะครับ ว่า การลงโทษคนตามกระบวนการยุติธรรม ในคดีฆาตกรรม อำนาจในการลงโทษอยู่ในดุลยพินิจศาลตัดสินครับ ไม่ใช่ตำรวจเป็นคนตัดสิน ไม่ใช่ตำรวจเป็นผู้ลงโทษ ตำรวจมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน สอบคำให้การ ตามที่ผู้ต้องหาให้การ ส่งอัยการ ฟ้องศาลพิจารณาคดี ฉะนั้น ควรจะทำทุกอย่างให้มันนุ่มนวล แล้วได้ใจความครบถ้วนครับ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดี และไม่มีข้อกังขาเรื่อง การบังคับขู่เข็ญ หรือ การซ้อมให้รับสารภาพ

ที่เม้นด่ากันรัวๆ ว่าทำไมตำรวจให้มันทำอย่างนั้นอย่างนี้ ทำไมปล่อยให้แต่งหน้า ทำไมให้สูบบุหรี่ บอกเลยครับว่านอกจาก ไม่ได้ประโยชน์อะไรนอกจากความสะใจแล้ว ยังส่งผลเสียต่อคดีอีกครับ


เคยเห็นภาพ ร้อยตำรวจโท นั่งโอ๋ ผู้ต้องหาในคดีฆาตกรรม ที่เป็นชายอายุ 20 กว่า กำลังร้องห่มร้องไห้เป็นเด็ก 7 ขวบ ไหมครับ

ผมนี่แหละครับ แค่ไม่มีนักข่าวมาถ่ายภาพเอาไปลงให้คนด่าแค่นั้นเอง

......ไม่มีกระบวนการยุติธรรมใดในโลกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์นะครับ.....

ขอขอบคุณ เฟซบุค "Panja Pholto"
ทีมา ;http://khaododun.blogspot.com/2017/06/blog-post_4.html

You Might Also Like

0 ความคิดเห็น